Saturday, 4 May 2024
อโนชา ปันจ้อย

ย้อนอดีต ‘อโนชา ปันจ้อย’ 44 ปีแห่งการหายตัวของหญิงไทย ผู้ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัว

รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับอย่างเป็นทางการจากว่าชาวญี่ปุ่นเพียง 17 คน (ชาย 8 คนและหญิง 9 คน) ถูกลักพาตัวไป

เรื่องของ อโนชา ปันจ้อย หญิงสาวชาวไทย ผู้ซึ่งถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวไปจากอาณานิคมมาเก๊าของโปรตุเกส เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (วันนี้เมื่อ 44 ปีก่อน) เห็นชื่อเรื่องแล้วผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะสงสัยว่า เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับคนไทยด้วยหรือ เพราะข่าวส่วนใหญ่มักเกิดกับคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะในระหว่าง ปี พ.ศ. 2520 ถึง 2526 แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับอย่างเป็นทางการว่า มีชาวญี่ปุ่นเพียง 17 คน (ชาย 8 คนและหญิง 9 คน) ถูกลักพาตัวไป แต่ในความเป็นจริงแล้วอาจมีชาวญี่ปุ่นอีกหลายร้อยคนที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 รัฐบาลเกาหลีเหนือยอมรับว่า ได้ทำการลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่น และขอโทษ ในขณะเดียวกันก็สัญญาว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

รัฐบาลเกาหลีเหนือยอมรับว่า ได้ทำการลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นไป 13 คน

แม้ว่า ในเดือนตุลาคมปีนั้นผู้ที่ถูกลักพาตัวชาวญี่ปุ่นห้าคนจะได้เดินทางกลับญี่ปุ่น แต่ผู้ถูกลักพาตัวชาวญี่ปุ่นที่เหลือรัฐบาลเปียงยางยังไม่ได้ให้คำอธิบายใด ๆ ที่ยอมรับได้อีกเลย ถึงแม้ว่า เกาหลีเหนือจะมีพันธะสัญญาอย่างชัดเจนจากการประชุมสุดยอดผู้นำญี่ปุ่น-เกาหลีเหนือเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินการสอบสวนโดยละเอียดในทันทีในการตรวจสอบจำนวนชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวทั้งหมด 

การยืนยันของเกาหลีเหนือเกี่ยวกับประเด็นการลักพาตัวนั้น เกาหลีเหนือไม่ได้ให้หลักฐานที่น่าพอใจหรือที่น่าเชื่อใดๆ ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงไม่ยอมรับ 

สำหรับการลักพาตัวพลเมืองญี่ปุ่นนั้น ทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่น ชีวิตและความปลอดภัยของพลเมืองญี่ปุ่น หากไม่มีการแก้ไขปัญหานี้ ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีเหนือก็จะยังไม่ถือว่าเป็นปกติ 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นให้คำมั่นแก่ชาวญี่ปุ่นที่จะพยายามอย่างที่สุดในการติดตามและนำผู้ถูกลักพาตัวทั้งหมดกลับมายังประเทศญี่ปุ่นโดยเร็วที่สุด และรัฐบาลเกาหลีเหนือได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ได้ลักพาตัวชาวญี่ปุ่นไป 13 คน

ชาวเกาหลีใต้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้ที่ถูกลักพาตัวชาวเกาหลีใต้ระหว่างสงครามเกาหลีกว่าแปดหมื่นคน

มาที่ด้านของเกาหลีใต้ ผู้ที่ถูกลักพาตัวชาวเกาหลีใต้โดยเกาหลีเหนือ แบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ 1.) ผู้ที่ถูกลักพาตัวในระหว่างช่วงสงครามเกาหลี และ 2.) ผู้ที่ถูกลักพาตัวหลังจากสงครามเกาหลี โดยในช่วงระหว่างสงครามเกาหลี มีชาวเกาหลีใต้ประมาณ 84,532 คนถูกนำตัวไปยังเกาหลีเหนือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาหรือมีทักษะอยู่แล้ว เช่น นักการเมือง ข้ารัฐการ นักวิชาการ นักการศึกษา แพทย์ ผู้พิพากษา นักข่าว หรือนักธุรกิจ ตามคำให้การของสมาชิกในครอบครัวที่เหลืออยู่ การลักพาตัวส่วนใหญ่ถูกจับกุมโดยทหารเกาหลีเหนือซึ่งมีชื่อเฉพาะและบัตรประจำตัวของผู้ที่ถูกลักพาตัวอยู่ในมืออยู่แล้วเมื่อพวกเขามาปรากฏตัวที่บ้าน อันเป็นข้อบ่งชี้ว่า การลักพาตัวเกิดขึ้นโดยเจตนาและเป็นไปในลักษณะที่มีความเป็นระบบ 

สาธุคุณ Kim Dong-shik (ผู้จัดตั้งที่พักพิงในจีนสำหรับชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์) หนึ่งในผู้ที่ถูกลักพาตัว

นับตั้งแต่ข้อตกลงสงบศึกเกาหลีในปี พ.ศ. 2496 เกาหลีเหนือได้ทำการลักพาตัวชาวเกาหลีใต้ราว 3,800 คน (ส่วนใหญ่ในช่วงปลายทศวรรษ 1970) ชาวเกาหลีใต้ที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวในดินแดนเกาหลีใต้หรือต่างประเทศหลังจากการสงบศึกลงนามในปี พ.ศ. 2496 เป็นที่รู้จักในชื่อเรียกว่า “ผู้ถูกลักพาตัวหลังสงคราม” โดยส่วนใหญ่จะถูกจับในขณะตกปลาใกล้เขตปลอดทหารเกาหลี (DMZ) แต่บางคนถูกลักพาตัวโดยสายลับเกาหลีเหนือในเขตเกาหลีใต้ที่ลึกเข้ามา 

เกาหลีเหนือยังคงลักพาตัวชาวเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องในยุค 2000 ดังที่เห็นได้จากกรณีของสาธุคุณ Kim Dong-shik (ผู้จัดตั้งที่พักพิงในจีนสำหรับชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์) ซึ่งถูกลักพาตัวไปเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2543 และ Jin Gyeong-suk ชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์ไปอยู่ยังเกาหลีใต้ ซึ่งถูกลักพาตัวไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ขณะที่เธอกลับไปยังเขตชายแดนจีน-เกาหลีเหนือโดยใช้หนังสือเดินทางเกาหลีใต้ ซึ่งในปี พ.ศ. 2549 ชาวเกาหลีใต้จำนวน 489 คนยังคงไม่ได้รับการปล่อยตัว 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top